วันพุธที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

บทที่ 7 ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System)




บทที่ 7
ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System)





ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System)
             ระบบสนับสนุนการตัดสินใจเป็นระบบที่มีการนำมาใช้งานนานแล้วโดยเริ่มแรกจะใช้ลักษณะเป็นเครื่องมือช่วยสนับสนุนการตัดสินใจของระบบจัดการทั่วไป ที่เรียกว่า ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ ซึ่งเป็นระบบที่จัดหาสารสนเทศที่เป็นประโยชน์ให้แก่ผู้ยริหารระดับต้นในการบริหารดำเนินงานในแต่ละวัน และให้เป็นประโยชน์แก่ผู้บริหารระดับกลางในการควบคุมการดำเนินการต่างๆ ให้เป็นไปตามมาตรฐานหรืองบประมาณที่ได้กำหนดไว้ ระบบสนับสนุนการตัดสินใจถือได้ว่าเป็นระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการแบบใหม่ที่ช่วยผู้บริหารระดับสูงในการตัดสินใจแก้ปัญหาแบบมีโครงสร้างและแบบกึ่งโครงสร้าง จึงมีบทบาทเสมือนเป็นเครื่องมือที่ทำให้ผู้บริหารสามารถตัดสินใจได้ถูกต้องมากขึ้น

การเปรียบเทียบระบบสนับสนุนการตัดสินใจกับระบบประมวลผลรายการ (Transaction Processing System)
                ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
ประโยชน์                              ใช้แก้ปัญหาที่เกิดขึ้นใหม่ตามปัจจัยที่แตกต่างกันไป
ผู้ใช้                                         ผู้บริหารและที่ปรึกษา
เป้าหมาย                               เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ
ข้อมูลที่ใช้                             ปัจจุบัน,อนาคต
วัตถุประสงค์ของการใช้       มีความยืดหยุ่นสามารถปรับปรุงให้เข้ากับสถานการณ์และปัญหาได้    
   
             ระบบประมวลผลรายการ
ประโยชน์                              ใช้กับการประมวลผลประจำ
ผู้ใช้                                         พนักงานทั่วไป
เป้าหมาย                               เพื่อตอบสนองการดำเนินงานประจำวัน
ข้อมูลที่ใช้                             อดีต
วัตถุประสงค์ของการใช้       มีลักษณะที่คงที่ ไม่เปลี่ยนแปลง

คุณลักษณะและความสามารถของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ  DSS
                  ปัญหาที่เกิดขึ้นในองค์กรต่างๆ อาจแบ่งได้เป็นปัญหาแบบมีโครงสร้าง ปัญหาแบบกึ่งโครงสร้าง และปัญหาแบบไม่มีโครงสร้างที่แน่นอน ในระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการจะเป็นระบบที่ใช้แก้ปัญหาที่มีโครงสร้างที่แนานอน ส่วนระบบสนับสนุนการตัดสินใจ เป็นระบบที่มีลักษณะและความสามารถแตกต่างไปจากระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการในหลายด้าน ระบบสนับสนุนการตัดสินใจสามารถสนับสนุนการตัดสินใจแก้ปัญหาแบบกึ่งโครงสร้างที่มีวัตถุประสงค์ แต่ไม่มีขั้นตอนการแก้ปัญหาที่แน่นอนตายตัวเหมือนปัญหาที่มีโครงสร้าง คุณลักษณะและความสามารถโดยทั่วไปของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ

ลักษณะของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
1. สนับสนุนการตัดสินใจแบบกึ่ง
2. สนับสนุนการตัดสินใจสำหรับผู้บริหารทุกระดับ
3. สนับสนุนการตัดสินใจเฉพาะบุคคลหรือกลุ่ม
4.สนับสนุนการตัดสินใจที่เกี่ยวเนื่องและซับซ้อน
6. สนับสนุนงานผู้เชี่ยวชาญ การออกแบบ
6.สนับสนุนการนำข้อมูลจากระบบต่างๆ มาตัดสิน
7. มีความยืดหยุ่นและง่ายต่อการปรับเปลี่ยน
8. ง่ายต่อการใช้งาน
9. เน้นประสิทธิผลในการตัดสินใจ
10.เป็นการตัดสินใจและควบคุมโดยคน
11.สนับสนุนให้เกิดวิวัฒนา- การทางการเรียนรู้
12. สนับสนุนให้ผู้ใช้สามารถสร้างระบบง่ายได้
13. มีการสร้างแบบจำลอง
14. เป็นศูนย์รวมความรู้

ประเภทของการตัดสินใจ
          1. การตัดสินใจแบบมีโครงสร้าง (Structure Decision ) การตัดสินใจลักษณะนี้จะเป็นการตัดสินใจที่มีกฏเกณฑ์ตายตัว เช่นการคิดค่าปรับในการลงทะเบียนล่าช้า การคิดภาษามูลค่าเพิ่มสินค้าชนิดที่ต้องมี VAT กรณีการตัดสินใจลักษณะนี้ จะเป้ฯการตัดสินใจในระดับ TPS ซึ่งเรามักจะใช้เป็นกฏในการกำหนดในตัว Software ที่ปฏิบัติงานเพื่อเป็นการลดภาระงานของมนุษย์ เรามักจะเรียกการตัดสินใจในรูปแบบนี้ว่า Programmable Decision

              2. การตัดสินใจแบบกึ่งโครงสร้าง (Semi Structure ) การตัดสินใจแบบกึ่งโครงสร้างเป็นการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับตัวแปรจำนอนมาก ด้วยเหตุผลนี้ผู้บริหารระดับสูงซึ่งทำการตัดสินใจจึงต้องมีทักษะเป็นอย่างดีเมื่อประสบปัญหาสามารถมองหาลู่ทางและตัดสินใจได้อย่างรวดเร็ว โดยอาศัยประสบการณ์ วิจารณญาณ ไหวพริบ ปฏิญาณ และความชำนานในการแก้ปัญหา ตัวอย่างการตัดสินใจประเภทนี้ เช่น การตัดสินใจขยายโครงการ การตกลงใจผลิตสินค้าชนิดใหม่

3. การตัดสินใจแบบไม่มีโครงสร้าง (Non Structure Decision) ลักษณะการตัดสินใจประเภทนี้จะใช้สำหรับผู้บริหารระดับสูงในระดับกลยุทธ (Selecting Strategies ) ตัวอย่างการกำหนดกลยุทธด้านการขายในรูปแบบต่างๆ ในลักษณะเช่นนี้ สารสนเทศจะมีส่วนสนับสนุนบ้าง แต่น้ำหนักจะไปตกกับศิลปและประสบการณ์ของผู้บริหารเป็นส่วนใหญ่ ระบบนี้จะอยู่ในระดับ ESS (Executive Support System) ตัวอย่างเช่นการกำหนดทิศทางในการดำเนินงานอีก 10 ปีข้างหน้าของบริษัท โดยการดูจากค่าพยากรณ์ในอนาคต

ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (DSS) จะมีคุณลักษณะดังนี้

      1. เน้นการใช้ฐานข้อมูลที่มาจากปัจจัยภายนอก (External Database) และใช้ตัวแบบคณิตศาสตร์(Model Base) เช่นข้อมูลเกี่ยวกับคู่ต่อสู้ทางการค้า นโยบายของรัฐ วัตถุดิบ สิ่งแวดล้ม กฎหมายการค้า ฯลฯ

      2. สนับสนุนการตัดสินใจสำหรับผู้บริหารทุกระดับ (Support All Level) ระบบสนับสนุนการตัดสินใจสามารถนำไปใช้โดยผู้บริหารทุกระดับตั้งแต่หัวหน้าสายงาน ผู้จัดการฝ่ายต่างๆ ผู้จัดการทั่วไป ผู้บริหารระดับสูง รวมถึงผู้บริหารที่เพิ่งได้รับการแต่งตั้งเข้ามาดำรงตำแหน่งและยังไม่ทราบแนวคิดการตัดสินใจขององค์กร

                3. สนับสนุนการตัดสินใจเฉพาะบุคคลหรือกลุ่ม (Individual or Group) ในองค์กรไม่ว่าจะเป็นหน่อยงานของรัฐหรือเอกชน การตัดสินใจส่วนมากจะกระทำหลังจากมีการปรึกษาหรือหารือกันอย่างกว้างขวาง นอกจากระบบสนับสนุนการตัดสินใจจะสามารถช่วยสนับสนุนผู้บริหารแก้ปัญหาเฉพาะบุคคลได้แล้วยังสามารถช่วยผู้บริหารในการตัดสินใจแบบกลุ่มได้ด้วย

                4. สนับสนุนการตัดสินใจที่เกี่ยวเนื่องและซับซ้อน ( Complexity) ระบบสนับสนุนการตัดสินใจระบบหนึ่งๆ จะมีแบบจำลองของการตัดสินใจหลายแบบ ซึ่งแบบจำลองของการตัดสินใจจะเกี่ยวเนื่องกันในลักษณะที่แก้ปัญหาจากปัญหาง่ายๆ ไปยังปัญหาที่ซับซ้อนได้ ในระบบสนับสนุนการตัดสินใจที่ซับซ้อนมากจะมีแบบจำลองของการตัดสินใจที่ง่ายรวมอยู่

                5. สนับสนุนงานผู้เชี่ยวชาญ (Support Expert) การออกแบและทางเลือก ระบบสนับสนุนการตัดสินใจสนับสนุนการทำงานทุกขั้นตอนของกระบวนการตัดสินใจ ได้แก่ งานผู้เชี่ยวชาญ โดยสามารถสะสมความรุ้ไหม่เข้าไปเก็บไว้ในฐานข้อมูลความรู้ของผู้เชี่ยวชาญ สามารถออกแบบระบบสนับสนุนการตัดสินใจได้โดยการระบุทางเลือก การเสนอแนะแนวทางการแก้ปัญหา การค้นหาข้อมูลในการแก้ปัญหา และการนำไปปฏิบัติได้จริง

                6. สนับสนุนกระบวนการตัดสินใจที่มีการนำข้อมูลจากระบบต่างๆ มาใช้ ( Data Ware House) โดยจะพิจารณาความสอดคล้องกันระหว่างวิธีการตัดสินใจแต่ละคนกับระบบงานย่อยต่างๆ ที่ทำงานภายใต้สภาวะแวดล้อมของระบบสนับสนุนการตัดสินใจเดียวกัน โดยระบบจะประมวลผลข้อมูลตามความต้องการของลักษณะงานมากกว่าประมวลผลตามสายงานของแต่ละแผนก

                7. ยืดหยุ่นและง่ายต่อการเปลี่ยนแปลง ( Flexibility ) เมื่อผู้บริหารใช้ระบบสนับสนุนการตัดสินใจไประยะหนึ่งก็จะมีข้อมูลเข้ามาสุ่ฐานข้อมูลมากขึ้น แบบจำลองการตัดสินใจก็จะเปลี่ยนแปลงไปตามข้อมูลที่เข้าสู่ระบบ ผุ้ใช้สามารถปรับปรุงหรือปรับเปลี่ยนรูปแบบของหน้าที่พื้อฐานในระบบเสียใหม่ ซึ่งยังคงให้มีลักษณะการดต้ตอบอย่างรวดเร็วต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปได้เหมือนเดิม ระบบสนับสนุนการตัดสินใจมีความสามารถในการวิเคราะห์แบบเร่งด่วนได้อย่างทันทีทันใด

                8. ง่ายต่อการใช้งาน ( Ease of Uses ) ผู้ใช้ระบบสามารถใช้งานระบบได้ง่ายขึ้น โดยไม่ต้องแก้ไขแบบจำลองทั้งหมดของระบบ ในกรณีที่ปัญหามีลักษณะคล้ายกับปัญหาเดิมและได้มีการสร้างแบบจำลองของปัญหานั้นไว้แล้ว ผู้ใช้สามารถนำแบบจำลองนั้นมาทำการเปลี่ยนค่าตัวแปรต่างๆ เท่านั้น การออกแบบระบบได้รองรับความหลากหลายของความต้องการของผู้บริหารไว้แล้ว นอกจากนี้แล้วระบบยังมีการนำเอาภาพกราฟฟิกมาสร้างส่วนต่อประสานผู้ใช้ ( graphic user interface : GUI ) ซึ่งง่ายต่อการใช้งาน และง่ายต่อการโต้ตอบกับระบบ ซึ่งช่วยให้ประสิทธิภาพการทำงานของระบบดีขึ้น

9. เน้นประสิทธิภาพในการตัดสินใจ (Efficient DSS) ระบบสันบสนุนการตัดสินใจเป็นระบบที่พยายามจะปรับปรุงปีะสิทธิผลของการตัดสินใจให้บรรลุวัตถุประสงค์หรือจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้ โดยเน้นในเรื่องความถูกต้อง ทันการณ์และมีคุณภาพมากกว่าที่จะเน้นในเรื่องการประหยัดค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการใช้ทรัพยากรในระบบและค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการเสียเวลาของการประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์หรืออาจกล่าวได้ว่า รับบสนับสนุนการตัดสินใจเน้นวัตถุประสงค์ของการตัดสินใจโดยไม่คำนึงถึงต้นทุนที่เกิดขึ้น

10. เป็นการตัดสินใจและควบคุมโดยคน (Assist Manager) ระบบสนับสนุนการตัดสินใจที่ออกแบบมีหลายรูปแบบที่อำนวยความสะดวกให้ผู้บริหารสามาถควบคุมกรรมวิธีการตัดสินใจแก้ปัญหาได้อย่างสมบูรณ์ทุกขั้นตอนโดยระบบจะถูกควบคุมด้วยคนตั้งแต่การกำหนดปัญหา การแก้ไขปัญหา การออกแบบการสร้างแบบจำลองที่ใช้ในการตัดสินใจ เช่น ในระบบการควบคุมสินค้าคงคลัง แล้วจัดสร้างแบบจำลองการกำหนดสินค้าใหม่ขึ้น ซึ่งในแบบจำลองนี้ผู้ควบคุมสามารถใช้วิธีวิเคราะห์แบบ จะเกิดอะไรขึ้นถ้า… “ ( what-if analysis ) เป็นการตั้งข้อสมมติฐานบางอย่างเกี่ยวกับข้อมุลสินค้าผู้ควบคุมสินค้านำตัวแปรที่เกี่ยวข้องเข้ามาใช้ในแบบจำลองการกำหนดการสั่งซื้อสินค้าใหม่
11. สนับสนุนให้เกิดวิวัฒนาการทางการเรียนรู้เพิ่มขึ้น เป็นระบบที่นำไปสู่การเรียนรู้ที่เพิ่มขึ้นเพราะมีแนวทางใหม่ในการตัดสินใจเกิดขึ้นอยุ่ตลิดเวลา แนวทางใหม่ที่เกิดขึ้นนั้นจะถูกนำไปปรับเปลี่ยนให้เหมาะกับการตัดสินใจ ซึ่งทำให้เกิดการเรียนรู้เพิ่มขึ้น

12. สนับสนุนให้ผู้ใช้สามารถสร้างระบบง่ายๆ ได้ด้วยตัวเอง ระบบสนับสนุนการตัดสินใจที่ดีควรอำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้สร้างระบบง่ายๆ ได้ด้วยตัวเอง เช่น สามารถสร้างระบบการคิดคำนวณต้นทุนสินค้าโดยจัดทำสมการค่าตัวแปรต่าง ที่มีผลต่อต้นทุนได้

13. มีการสร้างแบบจำลอง ( Modeling ) ในระบบสนับสนุนการตัดสินใจจะมีการใช้ประโยชน์จากแบบจำลองที่อาจเป็นแบบจำลองมาตรฐานทั่วไป หรือแบบจำลองที่สร้างขึ้นมาสำหรับงานประเภทใดประเภทหนึ่งโดยเฉพาะ แบบจำลองเหล่านี้จะมีความสามารถช่วยให้ผู้บริหารได้ทำการทดลองกลยุทธ์ต่างๆ ของตนเองภายใต้สถานการณ์ที่แตกต่างกันได้

     14. เป็นศูนย์รวมความรู้ (Knowledge Center ) ระบบสนับสนุนการตัดสินใจบางระบบจะมีระบบฐานความรู้ ( knowledge base ) เป็นส่วนประกอบ ซึ่งระบบฐานความรุ้เป็นข้อมูลที่รวบรวมไว้ใช้ในการแก้ปัญหา เพื่อใช้เป็นบานในการตัดสินใจของระบบผู้เชียวชาญ ระบบสนับสนุนการตัดสินใจที่มีระบบบานความรู้เป็นองค์ประกอบจะทำให้ระบบสนับสนุนการตัดสินใจนั้น สามารถเสนอแนะแนวทางการแก้ปัญหาที่ซับซ้อนให้กับผู้บริหารในการตัดสินใจอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

                     ประโยชน์ของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ

1. มีความสามารถในการสนับสนุนการแก้ปัญหาที่ซับซ้อน สันบสนุนการตัดสินใจเกี่ยวกับปัญหาที่มีโครงสร้างไม่แน่นอนหรือกึ่งโครงสร้าง และระบบสนับสนุนการตัดสินใจยังเป็นระบบที่มีการจัดการเกี๋ยวกับการรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล การสร้างแบบจำลองที่ซับซ้อน และมีการโต้ตอบระหว่างผู้ใช้กับตัวระบบเอง จึงทำให้ระบบสนับสนุนการตัดสินใจสามารถแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อนได้

2. สามารถแสดงผลลัพธ์โต้ตอบต่อสถานการณ์ที่ไม่คาดคิดมาก่อนได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งผลลัพธ์นั้นเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์หรือเงื่อนไขในการตัดสินใจ ระบบสนับสนุนการตัดสินใจมีความสามารถวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณได้อย่างสมบูรณ์ภายในระยะเวลาอันรวดเร็ว หรือแม้แต่การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งของสถานการณ์ที่มีความซ้ำซ้อนก็สามารถประเมินสถานการณ์นั้นได้ตรงตามวัตถุประสงค์ โดยผู้ใช้สามารถใช้ระบบสร้างแบบจำลองหลายรูปแบบให้มีลักษณะที่สอดคล้องกับสถานการณ์นั้นๆ

3. ทำให้เกิดแนวความคิดและองค์ความรู้ใหม่ ผู้ใช้ระบบสนับสนุนการตัดสินใจสามารถสอบแนวความคิดใหม่ๆ ของตนเองผ่านแบบจำลอง เช่นการวิเคราะห์ปัญหาแบบ จะเกิดอะไรขึ้นถ้า “ ( what-if ) ซึ่งสนับสนุนให้ได้คำตอบหรือความคิดใหม่ๆ

4. อำนวยความสะดวกในการสื่อสาร ในการตัดสินใจแบบกลุ่มระบบสนับสนุนการตัดสินใจสามารถอำนวยความสะดวกในการเก็บรวบรวมข้อมูลทดลองสร้างแบบจำลองในการตัดสินใจ โดยใช้ผู้มีส่วนร่วมกับระบบในการกำหนดแบบจำลอง นอกจากนั้น what –if analysis ยังช่วยให้พนักงานมีส่วนร่วมในการกำหนดตัวแปรในการปฏิบัติงานให้มีระบบได้นำไปใช้เป็นข้อมูลในการทดลองสร้างแบบจำลองที่ใช้ในการทำงานกลุ่มหรือเมื่อมีการประชุมเกิดขึ้น

5. ใช้ในการปรับปรุงและเพิ่มผลผลิตขององค์กร ระบบสนับสนุนการตัดสินใจมีความสามารถในการเพิ่มการควบคุมการจัดการและปรับปรุงผลผลิตขององค์กร เนื่องจากผบริหารสามารถตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

6. ประหยัดเวลาและต้นทุนในการดำเนินงาน การใช้ระบบสนับสนุนการตัดสินใจสำหรับงานที่ต้องดำเนินการเป็นประจำนั้น จะส่งผลให้ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายอย่างเห็นได้ชัด หรือลดต้นทุนที่อาจเกิดจากการตัดสินใจที่ผิดพลาดได้

7. สนับสนุนการตัดสินใจแบบมีวัตถุประสงค์ การตัดสินใจที่เป็นผลมาจากระบบสนับสนุนการตัดสินใจนั้นเกิดจากการกำหนดตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับวัตถุประสงค์ที่แน่นอน ทำให้มีความแน่นอนและวัตถุประสงค์ที่เด่นชัดกว่าการตัดสินใจที่เป็นผลมาจากการใช้เพียงสัญชาตญาณหรือลางสังหรณ์เท่านั้น

8. เพิ่มประสิทธิภาพทางด้านการจัดการ ทำให้ผู้บริหารใช้เวลาในกระบวนการตัดสินใจนอ้ยลงเพราะระบบสนับสนุนการตัดสินใจจะเป็นเครื่องมือกลั่นกรองการตัดสินใจที่มีเกณฑ์แน่นอน ทำให้ผู้บริหารสามารถใช้เวลาที่มีอยู่อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อใช้ในการวิเคราะห์ วางแผน และการนำไปปฏิบัติจริงขององค์กร

9. ปรับปรุงความสามารถของนักวิเคราะห์ในการสรางผลงานให้ได้มากขึ้น เช่น การใช้แบบจำลองทางการเงิน      ( financial model ) เพื่อวิเคราะห์รายรับและรายจ่ายทางการเงิน ในแบบจำลองทางการเงินจะมีตัวแปรและข้อมูลทางการที่เก็บรวบรวมไว้ในระบบซึ่งสามารถนำมาใช้เป็นองค์ประกอบในการวิเคราะห์ได้ทันที ถ้านักวิเคราะห์ทำการวิเคราะห์เองโดยไม่ใช้แบบจำลองทางการเงินระบบสนับสนุนการตัดสินใจ นักวิเคราะห์ต้องทำการรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องและสร้างแบบจำลองขึ้นมาเองเพื่อใช้ในการวิเคราะห์ ซึ่งเป็นงานที่ค่อนข้างยากและต้องใช้เวลานาน

องค์ประกอบหลักของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
ระบบสนับสนุนการตัดสินใจมีองค์ประกอบหลัก 4 ส่วน ซึ่งจัดเก็บรวมกันไว้ในระบบคอมพิวเตอร์ โดยอาจมีการเพิ่มระบบย่อยและโปรแกรมบางส่วนเข้ามาช่วยสนับสนุนการทำงานขององค์ประกอบเหล่านี้ นอกจากนี้กล่าวได้ว่า ผู้ใช้เป็นองค์ประกอบหนึ่งของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ เพราะผู้ซึ่งเป็นผู้เรียกระบบนี้ขึ้นมาใช้งานจะได้รับประโยชน์จากระบบนี้ ซึ่งเป็นผลมาจากการปฏิสัมพันธ์หรือ โต้ตอบ ( interact ) ระหว่างคอมพิวเตอร์กับผู้ใช้ ระบบสนับสนุนการตัดสินใจประกอบด้วยองค์ประกอบต่างๆ

1. การจัดการข้อมูล ( Data Management ) เป็นการรวบรวมข้อมูลทั้งภายใน และภายนอกองค์กรที่มีความสัมพันธ์กับองค์กรไว้ในฐานข้อมูล และอาศัยระบบจัดการฐานข้อมูล (database management system : DBMS ) เป็นเครื่องมือในการจัดการและบำรุงรักษาข้อมูลเหล่านั้น รวมถึงการจัดทำพจนานุกรมข้อมูล และจัดให้มีระบบอำนวยความสะดวกในการสอบถามข้อมูลจากฐานข้อมูล

2. การจัดแบบจำลอง ( Model Management ) เป็นเครื่องมือสำคัญที่ใช้ในระบบสนับสนุนการตัดสินใจที่ใช้ในการวิเคราะห์ระบบงานต่างๆ การจัดการแบบจำลองประกอบด้วยชุดโปรแกรมสำเร็จรูปที่ทำหน้าที่จัดการแบบจำลองในงานต่างๆ เช่น แบบจำลองสถิติ แบบจำลองวิทยาการจัดการ หรือแบบจำลองการวิเคราะห์เชิงปริมาณอื่นๆ นอกจากนี้แล้วการจัดการแบบจำลองยังมีความสามารถในการวิเคราะห์ระบบและจัดการแบบจำลองที่เหมาะสมกับผู้ใช้ด้วย

3. การจัดการความรู้ ( Knowledge Management ) เป็นระบบย่อยที่เพิ่มเติมขึ้นมาเพื่อสนับสนุนระบบย่อยอื่นๆ ให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น หรือทำงานเป็นระบบย่อยอสระก็ได้ ระบบการจัดการความรู้เป็นระบบที่เก็บรวบรวมความรู้หลากหลายประเภทที่มาจากแหล่งความรู้ต่างๆ ระบบจัดการความรู้จะเป็นส่วนประกอบที่ใช้ในการวินิจฉัยหรือการหาคำตอบให้กับการแก้ปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ

4. การจัดการบทสนทนา ( Dialog Management ) เป็นการจัดการโต้ตอบระหว่างผู้ใช้กับระบบสนับสนุนการตัดสินใจ โดยผู้ใช้สามารถสื่อสารและสั่งการผ่านระบบย่อยนี้ เพื่อทำงานกับระบบย่อยนี้ เพื่อทำงานกับระบบสนับสนุนการตัดสินใจได้

องค์ประกอบหลักของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ




การจัดการข้อมูล ( Database Management )

           กระบวนการของขั้นตอนเพื่อการตัดสินใจนั้น การมีข้อมูลที่เพียงพอเป็นสิ่งที่สำคัญและมีประโยชน์อย่างยิ่ง ข้อมูลที่เพียงพอและถูกต้องจะช่วยให้ตัดสินใจได้ดีขึ้น การตัดสินใจภายในองค์กรใหญ่ๆ จะมีความยุ่งยากและซับซ้อน ผลของการตัดสินใจบางครั้งเกี่ยวข้องกับเงินจำนวนมากและมีผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจขององค์กรทั้งในปัจจุบันและอนาคตข้อมูลที่ช่วยให้มีการตัดสินใจที่ถูกต้อง ผลตอบแทนจากการมีข้อมูลที่เพียงพอและการรู้จักการจัดการข้อมูลที่ถูกต้องจึงคุ้มค่ายิ่ง

สถาปัตยกรรมของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ

หน้าที่การทำงานของระบบการจัดการฐานข้อมูล


พจนานุกรมข้อมูล ( Data Dictionary )
พจนานุกรมข้อมูล คือ บัญชีรายชื่อของข้อมูลทั้งหมดที่จัดเก็บไว้ในฐานข้อมูล รวม
ทั้งคำนิยามของข้อมูลเหล่านั้นด้วย หน้าที่หลักของพจนานุกรมข้อมูลคือให้รายละเอียดทุกอย่างของข้อมูลที่จัดเก็บไว้ในฐานข้อมูล เช่น ชื่อของรายการข้อมูล ชื่อของโปรแกรมที่ใช้ รายละเอียดของข้อมูล ผู้มีสิทธิ์ใช้ข้อมูล และผู้รับผิดชอบในการดูแลรักษาข้อมูลนั้นๆ พจนานุกรมข้อมูลเหมาะที่จะนำมาใช้ในการตรวจและจำแนกข้อมูลต่างๆได้

ระบบอำนวยความสะดวกในการสอบถามข้อมูล ( Query Facility System )
ระบบอำนวยความสะดวกในการสอบถามนี้เป็นเครื่องมือที่ทำให้เกิดความสะดวกใน การสอบถาม และการเข้าถึงข้อมูลซึ่งจัดเก็บไว้ในฐานข้อมูล ระบบอำนวยความสะดวกในการสอบถามจะรับคำร้องของข้อมูลมาจากระบบการจัดการฐานข้อมูล โดยระบบจะกำหนดวิธีป้อนคำร้อง การใส่รายละเอียดคำร้อง และทำการประมวลผลคำร้องขอข้อมูลแล้วส่งผลลัพธ์ที่ได้กลับไปยังผู้ขอร้อง ซึ่งประเด็นของการร้องขอนั้นอาจจะเป็นไปเพื่อการค้นข้อมูล การสอบถาม การปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัย การสร้างรายงาน หรือการลบข้อมูลก็ได้ ระบบอำนวยความสะดวกในการสอบถามข้อมูลคือ การใช้โปรแกรมหรือภาษาสอบถามข้อมูล เช่น ภาษา SQL (structure query language ) ซงง่ายต่อการใช้งาน โดยภาษา SQL มีหน้าที่สำคัญในการสืบค้น เรียกใช้ และการจัดการข้อมูล ตามคำร้องขอของผู้ใช้ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

แบบฝึกหัด บทที่ 7

แบบฝึกหัด บทที่ 7                                   1. DSS คืออะไร ตอบ   เป็นระบบย่อยหนึ่งในระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการโดยที...